กายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง

10 ท่า การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง ทำให้ดี โอกาสหายมีสูง

การฟื้นฟูสมรรภาพของผู้ป่วยที่ไม่สามารถลุกขึ้นจากเตียงได้ คือ การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง หรือ การกายภาพบำบัดผู้สูงอายุคือ เพื่อให้มีกล้ามเนื้อและพละกำลัง ที่แข็งแรงมากยิ่งขึ้น สามารถที่จะทำให้ร่างกายสร้างกล้ามเนื้อที่เสื่อมถอยออกไป ให้กลับมามีแรงมากขึ้นหรือเกือบที่จะเป็นปกติ อีกทั้งยังเป็นการที่จะทำให้กล้ามเนื้อของผู้ป่วยมีการผล่อนคลาย เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดกล้ามเนื้ออ่อนแรง และประโยชน์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งของการกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง คือ ช่วยให้มีโอกาสที่จะหายจากโรค และดำรงชีวิตให้ใกล้เคียงกับปกติมากยิ่งขึ้น

การกายภาพที่ถูกวิธี

ถ้าในตอนนี้ ผู้อ่านมีญาติพี่น้อง ที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ท่านย่อมมีความคาดหวังว่า อยากให้ท่านเหล่านั้น มีความสามารถกลับคืนมาได้อีกครั้งหนึ่ง แม้อาจจะไม่หายเป็นปลิดทิ้ง แต่การที่ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตัวเองขึ้นมาได้บ้าง ย่อมเป็นสัญญาณที่ดี พร้อมเป็นกำลังใจที่เหนือกว่าสิ่งอื่นอย่างที่ไม่สามารถหาสิ่งใดมาแทนได้

สารบัญเนื้อหา

กายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียงคืออะไร

วิธีการกายภาพบำบัดผู้ปวยติดเตียง

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียงได้ผล

สรุป

การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียงคืออะไร

การกายภาพผู้ป่วยติดเตียงนั้น เราสามารถที่จะทำได้ในหลากหลายท่า
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกล้ามเนื้อส่วนต่างๆของร่างกาย
ซึ่งโดยคร่าวๆแล้ว เราสามารถแบ่งวิธีการกายภาพบำบัดของผู้ป่วยติดเตียงออกเป็น
การกายการ่างกายท่อนบน และการกายภาพร่างกายท่อนล่าง

 

กลับสู่ด้านบน

วิธีการกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง

ก่อนที่จะดูว่าแต่ละท่า จะมีวิธีการดูแลผู้ป่วยอย่างไร อยากให้ชม VDO เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นก่อนครับ หลังจากนั้น สามารถดูรายละเอียดด้านล่าง เพื่อสามารถทำตามได้เลยครับ (ใน VDO จะมีการอธิบายภาพรวม ซึ่งจะค่อนข้างเร็ว แนะนำว่า เวลาทำจริง ให้ดู รูปภาพพร้อมคำอธิบายภาพด้านล่าง ประกอบด้วยครับ)

กลับสู่ด้านบน

การกายภาพโดยบริหารร่างกายท่อนบน

ท่าที่ 1 การผ่อนคลายผ่ามือ

ท่านี้ เป็นการที่ช่วยให้ผู้ป่วยมีกำลังของกล้ามเนื้อมือ มากขึ้น และช่วยผ่อนคลายผู้ป่วยได้ดีอีกด้วย

วิธี ใช้มือจับนิ้วทั้งสี่คือ นิ้ว ชี้ กลาง นาง ก้อย ในสภาวะที่เหยียดตรง และ ใช้มืออีกด้านหนึ่ง กางนิ้วโป้งของผู้ป่วยเข้าออก นับ 10

กางนิ้วโป้งออก
วาดนิ้ว

ท่าที่ 2 กางนิ้ว เพิ่มความยืดหยุ่น

ท่านี้ ช่วยให้ ความยืดหยุ่นของมือ มีการพัฒนาการที่ดีมากยิ่งขึ้น วิธีการไม่ยาก แต่เน้น ความสม่ำเสมอในการกายภาพบำบัด

วิธี กางนิ้วของผู้ป่วย แต่ละนิ้ว นับ 1-10 สามารถทำได้ทั้ง 2 ข้าง

กางนิ้ว1
กางนิ้ว2

ท่าที่ 3 พับ และ เหยียดมือ

ท่านี้ เน้นความยืดหยุ่นของข้อนิ้วเช่นกันครับ

วิธี งอข้อนิ้วของผู้ป่วยแต่ละข้อ พับลง และจับนิ้วทั้งหมดเหยียดขึ้น ค้างไว้ นับ 1-10 ทำต่อเนื่องกัน 3  set

งอนิ้ว
กางนิ้ว

ท่าที่ 4 การบริหารข้อต่อ

ท่านี้ เป็นท่าที่สามารถป้องกันภาวะข้อติดของผู้ป่วยได้ ซึ่งเป็นการกระตุ้นประสาทการรับรู้ของผู้ป่วยอีกด้วย

วิธี คือใช้มือขวาจับที่ข้อมือ มือซ้ายจับที่ข้อศอก ยกแขนขึ้นเอาไว้เหนือศีรษะ ค้างไว้ นับ 1-20 และเอาลง

จับข้อศอก
ยกแขน
ยกแขนด้านหลัง

หมายเหตุ ท่านี้ หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บ ห้ามฝืนผู้ป่วยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการบาดเจ็บเพิ่มมากขึ้นได้

ท่าที่ 5 วาดแขนออกทางด้านข้าง

ท่านี้ เป็นการบริหารหัวใหล่

วิธี คือใช้มือจับที่ข้อศอกและข้อมือเหมือนเดิม แต่คราวนี้ แทนที่จะยกขึ้นศีรษะ ให้เปลี่ยนเป็นหมุนเพื่อไปที่เหนือศีรษะแทน ค้างไว้ นับ 1-20 และหมุนแขนลง

จับข้อศอก
กางแขนออก
ยกแขนด้านหลัง

ท่าที่ 6 พับข้อศอก

ท่านี้ เป็นการบริหารข้อศอก

วิธี คือใช้มือจับที่บริเวณข้อมือ และข้อศอกเหมือนเดิม คราวนี้ ทำการพับข้อศอกเข้า ออก นับ 1-20

จับข้อศอก
ข้อศอก

ท่าที่ 7 แบมือ-คว่ำมือ 

ท่านี้ เป็นการบริหารข้อมือ

วิธี จับมือคนไข้ในการแบมือ และคว่ำมือ ทำทั้งหมด 10 ครั้ง

คว่ำมือ
หงายมือ

ท่าที่ 7 หักเอนข้อมือ

ท่านี้ เป็นการบริหารข้อมือ

วิธี ท่านี้ใช้มือซ้ายประคองข้อมือ และใช้หมือขวาในการทำให้มือของผู้ป่วยเอนไปด้านหลัง นับ 1-20 และพับลง นับ 1-20

เหยียดมือ
คว่ำ

กลับสู่ด้านบน

การกายภาพโดยบริหารร่างกายท่อนล่าง

ท่าที่ 1 งอเข่าแนบลำตัว

วิธี มือขวาสอดที่ใต้ข้อพับ มือซ้ายสอดที่ส้นเท้าของคนไข้ ใช้มือประคอง งอ ให้เข้าแนบลำตัว นับ 1-20 แล้ว เหยียดออก

จับขา
งอเข่า

ท่าที่ 2 กางขาออก

วิธี ใช้มือเหมือนเดิน มือขวาจับที่ข้อพับ มือซ้ายจับที่ส้นเท้า แล้วกางขาออกด้านข้าง แล้วหุบขาเข้า

จับขา
กางขาออก

ท่าที่ 3 บิดขาออกด้านข้าง

วิธี เป็นท่าที่บิดด้านในออกด้านนอก แล้วเอาเท้าลง

จับขา
บิดทางด้านข้าง

กลับสู่ด้านบน

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียงได้ผล

วิธีที่จะทำให้การกายภาพบำบัดของผู้ป่วยติดเตียง หรือ การกายภาพบำบัดผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก หรือผู้ป่วยที่มีลักษณะอาการเดียวกันนี้ให้ได้ผลที่ดีที่สุด ก็คือ ให้มีการทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่การหักโหมทำเพียงช่วงเดียวแล้วเลิก ทั้งนี้ เพราะการสร้างหล้ามเนื้อ หรือการกระตุ้นเส้นประสาท ต้องใช้ระยะเวลา หากท่านไม่ถอดใจในการทำกายกาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียงแล้วละก็ รับรองว่าจะเกิดผลดีแก่ผู้ป่วยได้อย่างดีทีเดียว

กลับสู่ด้านบน

ความสม่ำเสมอ และการบริหารที่ถูกวิธี เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ในการกายภาพบำบัด

นอกจากจะเป็นวีธีกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียงแล้ว ยังสามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้อีกด้วย

สรุปวิธีการทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง

การทำกายภาพบำบัดผู้ป่วยติดเตียง หากเราเพิ่งเริ่มศึกษาเป็นครั้งแรก อาจจะดูเหมือนยาก และซับซ้อน แต่จริงๆแล้ว หากท่านลองทำดูสักครั้ง จะพบว่า ไม่ยากอย่างที่ท่านคิดเลย ลองฝึกซักครั้ง และครั้งต่อไป ก็ง่ายครับ เพื่อให้คนที่คุณรัก มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น และพร้อมที่จะกลับมาใช้ชีวิตที่มีความสุขอีกครั้ง

กลับสู่ด้านบน