แผลกดทับ

แผลกดทับ ขยับบ่อย ลดความเสี่ยง

อายุเยอะร่างกายก็เริ่มเสื่อมลง ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายหรือเคลื่อนไหวได้น้อยมากๆซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดแผลกดทับ ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาของผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาของผู้ดูแลอีกด้วย ดังนั้นคนในครอบครัวจำเป็นต้องรู้วิธีการดูแล เบื้องต้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด หากปล่อยไว้นานมีโอกาสเกิดการติดเชื้อ ถึงขั้นเสียชีวิตได้

สารบัญเนื้อหา

แผลกดทับคืออะไร

สาเหตุ

มีกี่ระดับ

ตำแหน่งของแผล

การดูแล

วิธีป้องกัน

สรุป

แผลกดทับคืออะไร

คือ การฉีกขาดที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณผิวหนังและเนื้อเยื่อบริเวณนั้นที่ถูกกดทับจากการนั่ง นอนหรืออยู่ท่าเดิมเป็นเวลานานจนขาดอาหารและออกซิเจน ส่งผลให้เลือดมาเลี้ยงผิวหนังบริเวณนั้นได้น้อยกว่าปกติ จนทำให้เกิดเนื้อเยื่อตายและเป็นแผลกดทับในที่สุด

กลับสู่สารบัญ

สาเหตุ

ส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยที่นอนอยู่ท่าเดียวนานๆ เพราะเคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยลงหรือเคลื่อนไหวไมได้เลย เช่น ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เป็นต้น แต่ยังมีสาเหตุอื่นร่วมด้วยดังนี้

  • ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเกิดจากการถูกกดทับเป็นเวลานาน
  • การเสียดสีของผิวหนังกับเสื้อผ้า ในขณะที่เคลื่อนย้าย อาจจะทำให้เกิดการลื่นไถล
  • เคลื่อนไหวไม่ถนัดหรือถูกจำกัดการเคลื่อนไหว พักฟื้นจากการผ่าตัด โคม่า ขยับตัวไม่ได้หรือนอนติดเตียงตลอดเวลา เช่น ผู้ป่วยที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ กระดูกแตกหัก มีการผ่าตัด เป็นต้น
  • ควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ อุจจาระไม่ได้ จนทำให้ผิวหนังเกิดความอับชื้นจากการใส่ผ้าอ้อม ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อ ได้ง่าย
  • ผิวหนังสูญเสียความยืดหยุ่นจากอายุที่มากขึ้น ทำให้เลือดไปเลี้ยงผิวหนังน้อยลง รวมถึงไขมันใต้ผิวหนังลดลง
  • สมองถูกทำลายเกิดจากศีรษะกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง
  • ร่างกายได้รับสารอาหารหรือน้ำไม่เพียงพอ
  • มีโรคประจำตัว โรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือด ระบบไหลเวียนเลือด ข้อต่อ ผิวหนัง เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ โรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือด โลหิตจาง รูมาตอยด์ หัวใจวาย ไตวาย

กลับสู่สารบัญ

แผลกดทับระดับไหน

แผลกดทับมีกี่ระดับ

ระดับ ที่1 สังเกตด้วยตาจะเห็นรอยสีแดง ม่วง เขียวหรือรอยช้ำเล็กน้อย เมื่อใช้มือกดลงไปจะรู้สึกว่าผิวหนัง แข็ง นิ่ม ร้อน หรือเย็นกว่าปกติมีอาการบวมจากการขาดเลือด อาจจะมีแผลแฉะๆบ้างเล็กน้อย หากพลิกตัวแล้วรอยแดงจ้ำไม่หายไปภายใน 30 นาที นั่นคือรอยแผลกดทับระยะเริ่มต้น

ระดับ ที่2 ผิวหนังบางส่วนเริ่มฉีกขาด เสียหาย อาจดูเหมือนแผลเปิด แต่เป็นแผลตื้น ไม่พอง ไม่เป็นตุ่มใส หากปล่อยไว้นานไม่รีบดูแลรักษา จะสูญเสียผิวหนังทั้งหมด และเริ่มมีตุ่มหนอง แต่ยังไม่ลึกถึงขั้นมองเห็นกล้ามเนื้อหรือกระดูกข้างใน

ระดับ ที่3 ชั้นผิวหนังสูญเสียเกือบหมด แผลมีความลึกเป็นรูและมองเห็นแผลลึกถึงไขมันที่อยู่ใต้ผิวหนังแต่ยังไม่ลึกถึงกระดูก เนื้อเยื่อข้างใต้จะเสียหายแต่กล้ามเนื้อแต่กระดูกยังไม่ได้เสียหายตรงไหน มีกลิ่นเหม็นและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ

ระดับ ที่4 มีความรุนแรงค่อนข้างมาก สูญเสียผิวหนังทั้งหมดและเนื้อเยื่อโดยรอบเริ่มตายลง ลักษณะแผลเป็นโพรง รูหรือช่องใต้ผิวหนังเป็นสีเหลือหรือดำ ที่มองเห็นลึกเข้าไปถึงกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อ ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อหรือกระดูกที่อยู่ข้างใต้ได้รับความเสียหายไปด้วย ถ้าผู้ป่วยเป็นระยะนี้ควรอยู่ที่โรงพยาบาลเพื่อรักษา เพราะอาจจะต้องตัดชิ้นเนื้อบางส่วนที่เสียทิ้งไป

หากแผลมีลักษณะที่เหมือนมีเนื้อตายเหนียวมาคลุมแผลไว้มีสีเหลือง น้ำตาลเข้ม เทา เขียวและมีสะเก็ดสีน้ำตาลหรือดำปิดบริเวณแผลไว้ เป็นแผลกดทับที่ไม่สามารถระบุระยะ ได้เพราะไม่สามารถมองเห็นแผลข้างในได้ชัดเจน

ถ้าสังเกตและเจอในระยะแรกให้รีบดูแลไม่ให้แผลลุกลามไปยังระยะอื่น ขึ้นอยู่กับการทำความสะอาดแผล จัดท่าทางนอน ท่านั่ง แค่นี้ก็สามารถแก้ปัญหาเบื้องต้นได้

กลับสู่สารบัญ

ตำแหน่งของแผลกดทับ

บริเวณที่พบส่วนใหญ่คือปุ่มกระดูกก้นกบ ตาตุ่ม และส้นเท้า แต่ตำแหน่งที่พบจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับท่าทางที่อยู่เป็นเวลานาน ดังนี้

ตำแหน่งแผลกดทับ

ภาพจาก https://bit.ly/2L7z1Qx

  • ท่านั่ง บริเวณกระดูกสะบัก กระดูกเชิงกราน ข้อศอก ส้นเท้า
  • ท่านอนตะแคง บริเวณปุ่ม สันตะโพก ต้นแขน หู กระดูกต้นขา
  • ท่านอนหงาย บริเวณท้ายทอย ข้อศอก สะบัก กระดูกก้นกบ กระดูกส้นเท้า

กลับสู่สารบัญ

การดูแลแผลกดทับ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำแผล

  • ชุดทำความสะอาดแผลปลอดเชื้อ
  • กระบอกฉีดยาขนาด 20 ซีซี สำหรับฉีดล้างแผล
  • ถุงมือ
  • พลาสเตอร์เทปติดผ้าก๊อซ
  • น้ำยาทำความสะอาดแผล ให้เลือกเป็นน้ำเกลือเพราะมันจะไม่ทำลายเนื้อเยื่อที่สร้างใหม่และไม่ทำให้แผลแสบหรือระคายเคือง

    **ห้ามใช้ยาแดง เบตาดีน แอลกอฮอล์และไฮโดรเจนออกไซด์**

กลับสู่สารบัญ

วิธีีทำความสะอาดแผลกดทับ

ก่อนทำความสะอาดแผลทุกครั้งอุปกรณ์ต้องสะอาดและปลอดเชื้อ รวมถึงควรล้างมือทั้งก่อนและหลังทำแผลให้สะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แล้วจึงสวมถุงมือ โดยวิธีทำความสะอาดแผลกดทับมีดังนี้

ระยะ1 ให้พลิกตัวเปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ ไม่ให้มีการกดทับที่จุดเดิมและใช้น้ำเกลือทำความสะอาดรอบแผล ต้องระวังเรื่องปัสสาวะหรืออุจจาระให้ทำความสะอาด ซับให้แห้งทุกครั้ง และใช้โลชั่นทาผิวบ่อยๆ ควรล้างแผลเบาๆ ทำเฉพาะรอบผิวผนังเท่านั้น **หลีกเลี่ยงการฉีดล้าง**

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นระยะนี้ หากมีการดูแล อย่างดี อาการก็จะไม่ลุกลามแล้วหายไปได้ประมาณ2สัปดาห์

ระยะ2 ให้ล้างแผลทำความสะอาดด้วยน้ำเกลือทั้งรอบๆแผลและภายในแผล แล้วปิดด้วยผ้าก๊อซ แล้วติดพลาสเตอร์ให้แน่น ควรทำอย่างน้อยวันละครั้ง

ระยะ3 เนื่องจากระยะนี้แผลเริ่มมีน้ำเหลือง ดังนั้นควรใช้น้ำเกลือล้างแผลก่อน แล้วจึงใช้น้ำยาฆ่าเชื้อล้างแผล และปิดผ้าก๊อซ บางรายอาจจะใช้ครีมเร่งเพื่อสร้างเนื้อเยื่อ

ระยะ4 จำเป็นต้องล้างแผลทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ล้างแผลด้วยน้ำเกลือแล้วตามน้ำยาฆ่าเชื้อ บริเวณที่มีแผลกดทับกว้างและลึกมาก ควรดูแลและรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการดูแล อย่างถูกวิธี หรืออาจจะต้องตัดชิ้นเนื้อเสียบางส่วนทิ้งไป

**การทำความสะอาดของแผลระยะที่3-4 ควรใช้การฉีดล้าง เพื่อเอาเศษเนื้อตายและแบคทีเรียกออก โดยใช้กระบอกฉีดยาที่บรรจุน้ำเกลือทำความสะอาดแผล 2-3ครั้ง  แต่ถ้าเป็นแผลที่มีขนาดกว้างหรือลึก มีหนองและกลิ่นเหม็น ควรรีบรักษา ตัวที่โรงพยาบาล**

กลับสู่สารบัญ

วิธีใช้แผ่นแปะแผลกดทับ

  1. ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำเกลือและเช็ดรอบแผลให้แห้ง
  2. ดูขนาดของแผล และเลือกแผ่นแปะแผลตามขนาดหรือจะตัดตามขนาดของแผลก็ได้
  3. ลอกกระดาษที่อยู่ด้านหลังแผ่นแปะ (พยายามอย่าให้นิ้วสัมผัสกับด้านที่จะแปะแผล)
  4. ปิดแผ่นแปะแผลที่ลอกให้แผลอยู่กึ่งกลางแผ่น
  5. ใช้มือค่อยๆกดให้แผ่นแปะแผลติดกับแผล
  6. อาจจะใช้ผ้าก๊อซหรือเทปพันรอบแผ่นแปะก็ได้
  7. เมื่อมองเห็นแผลข้างใต้จากด้านนอกหรือเมื่อแผ่นแปะเริ่มหลุดให้เปลี่ยนแผ่นใหม่ ทุกๆ3-4วัน

กลับสู่สารบัญ

อุปกรณ์ป้องกันแผลกดทับ

  • ใช้โพลียูรีเทนโฟม ปิดผิวหนังบริเวณปุ่มกระดูกป้องกันแรงไถลและลดการเสียดสี
  • ใช้ที่นอนชนิดมีลม เพื่อลดการกระแทก
  • เบาะเจล เบาะรองนั่ง
  • ใช้หมอนหรือผ้ารองใต้น่องเพื่อให้ส้นเท้าลอย ถ้าเป็นแผลกดทับบริเวณกระดูกที่ส้นเท้า
  • นั่งรถเข็น เก้าอี้ ต้องมีเบาะรองนั่ง
  • ผ้ายกตัวใช้สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

กลับสู่สารบัญ

วิธีป้องกันแผลกดทับ

  • หมั่นเปลี่ยนท่าทางบ่อยๆ อย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
  • ใช้หมอน เบาะรองนั่ง หรือผ้านุ่มๆ รองบริเวณหนังหุ้มกระดูก หรือแผลกดทับ สำหรับผู้ป่วยที่ต้องนั่งรถเข็นควรมีเบาะรองนั่ง เพื่อป้องกันการเสียดสี
  • ทำความสะอาดผิวหนัง และที่สำคัญต้องเช็ดให้แห้ง แล้วค่อยโรยแป้ง ไม่ปล่อยให้ผิวหนังผู้ป่วยอับชื้นเกินไป
  • หากผู้ป่วยปัสสาวะ ต้องรีบทำความสะอาดที่นอน เปลี่ยนเสื้อผ้าหรือผ้าปูที่นอนให้สะอาด แห้ง และต้องไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยนอนแช่ปัสสาวะ ป้องกันไม่ให้เกิดความอับชื้น
  • ดูแลทำความสะอาดการทำแผลกดทับตามที่แพทย์ หลีกเลี่ยงการถูกแผล และเปลี่ยนผ้าปิดแผลทุกครั้งที่มีน้ำเหลืองหรือปัสสาวะ อุจจาระเข้าไปในแผล
  • หมั่นสังเกตว่าลักษณะเป็นอย่างไร มีสีอะไร คอยเปลี่ยนท่าไม่ให้บริเวณนั้นถูกกดทับอีก
  • ขณะที่เคลื่อนย้ายผู้ป่วยควรมีผ้ารอง และใช้การยกตัวขึ้นแทนการลากตัว
  • ต้องรับประทานอาหารให้ครบถ้วน โดยเฉพาะโปรตีน วิตามิน ธาตุเหล็ก น้ำ ในปริมาณที่เหมาะสม
  • หมั่นออกกำลัง หรือขยันแขนขารวมถึงข้อต่อ เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อติดและลดการถูกกดทบบริเวณผิวหนังนานๆ

หากวิธีป้องกันเบื้องต้นไม่หาย ยังมีรอยแดงหรือแผลเปิดลึก มีน้ำหนองไหล กลิ่นเหม็น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที

กลับสู่สารบัญ

สรุปวิธีดูแลแผลกดทับ

หากเป็นแผลกดทับขึ้นมาอาการนี้สามารถรักษา ให้หายได้ หมั่นคอยสังเกตรอยช้ำแดงๆบนร่างกายและต้องคอยดูแลรักษา ทำความสะอาดแผลอยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้แผลติดเชื้อ เลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันไม่ให้ลุกลาม ที่สำคัญหลังจากทำความสะอาดผู้ป่วยแล้ว อย่าลืมดูแลสุขอนามัยของตนเองด้วย

กลับสู่สารบัญ