คนไทยทุกคนตั้งแต่เกิดจะได้รับสิทธิประกันสุขภาพ หรือบัตรทอง ที่เรารู้จักกันอยู่แล้ว แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าเราจะได้รับสิทธิอะไรบ้าง และอาจจะยังไม่เข้าใจ ต้องทำอย่างไรถึงจะได้รับสิทธิ มีสิทธิไหนบ้างที่ใช้ได้ รถเข็นไฟฟ้า Cruisemate จึงมาตอบข้อสงสัยเหล่านั้นกัน
สารบัญเนื้อหา
สิทธิประกันสุขภาพ คืออะไร
Cruisemate : สิทธิประกันสุขภาพ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า บัตรทอง หรือบัตร 30 บาท ที่เรารู้จักกัน ซึ่งออกโดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพหรือ สปสช. จะใช้เป็นหลักฐานในการยื่นเข้ารักษาตัวหน่วยบริการสาธารณสุขต่างๆ “ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย”
สมหญิง : แล้วมีสิทธิอื่นๆอีกบ้างมั้ย
Cruisemate : มีครับ สิทธิการรักษาพยาบาลของคนไทย ที่ควรได้รับแบ่งเป็น 5 กลุ่มใหญ่
- สิทธิข้าราชการ เบิกค่ารักษาพยาบาลให้กับข้าราชการและบุคคลในครอบครัว (ได้ทั้งบิดา มารดา คู่สมรส บุตร ถูกต้องตามกฎหมาย) รับสิทธิที่รพ.ของรัฐ
- สวัสดิการพนักงานท้องถิ่น คุ้มครองให้กับข้าราชการเมือง พนักงานลูกจ้างประจำขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคคลในครอบครัว
- สวัสดิการของหน่วยงานรัฐอื่นๆ คุ้มครองบริการรักษาพยาบาลให้กับพนักงานหน่วยงานของรัฐต่างๆ เช่น รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน รวมถึงบุคคลในครอบครัว
- สิทธิประกันสังคม เข้ารับการรักษาพยาบาลที่รพ. ที่เลือกลงทะเบียนไว้
- สิทธิประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทองหรือบัตร 30 บาท) คุ้มครองผู้ที่มีสัญชาติไทยและเลขบัตรประชาชน 13 หลัก ที่ไม่ได้รับสิทธิอื่นๆ จาก 4 ข้อที่กล่าวมา จะได้รับสิทธินี้แทนครับ
ใครบ้างที่มีสิทธิ
บุคคลที่มีคุณสมบัติดังนี้ สามารถรับสิทธิประกันสุขภาพได้
- ประชาชนคนไทยทุกคน ที่ไม่ได้เป็นข้าราชการหรือ รัฐวิสาหกิจ
- เด็กแรกเกิด ที่ไม่มีประกันที่พ่อแม่ซื้อให้ หรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลจากพ่อหรือแม่
- บุตรของข้าราชการที่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไป หรือสมรส)
- บุตรของข้าราชการคนที่ 4 ขึ้นไป (สิทธิข้าราชการจำกัดการคุ้มครองใช้สิทธิได้สูงสุด 3 คน)
- คนที่ขาดการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม หรือหมดสิทธิประกันสังคม
- ข้าราชการที่เกษียณอายุก่อนกำหนด และไม่ได้รับบำเหน็จบำนาญ
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และไม่ได้เป็นผู้ประกันตน
การเช็คสิทธิประกันสุขภาพ
สมหญิง : จะรู้ได้ยังไงว่ามีสิทธิหรือเปล่า
Cruisemate : สามารถเช็คสิทธิ ได้ 4 วิธี
- ไปติดต่อด้วยตนเอง ติดต่อที่โรงพยาบาล ของรัฐ และสถานพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สำนักงานเขตกทม. 19 เขต และสปสช. เขตพื้นที่ 1-13
- ผ่านทางโทรศัพท์ สายด่วน สปสช. 1330 กด 2 ตามด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก # กดโทรออก เปิดบริการ 24 ชั่วโมง หรือติดต่อเบอร์กลาง 02-1414000 ติดต่อในเวลาราชการ
- ทางเว็บไซต์ ของสปสช. >> nhso.go.th กรอกข้อมูลตามในลิงค์ได้เลย
- ทาง Application สปสช. ติดตั้งแอพผ่านทางโทรศัพท์มือถือ โดยสแกน QR Code ได้ทั้งระบบ Android และ ios เลือกใช้งานฟังก์ชันการเช็คสิทธิ
ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
สมหญิง : อยากมีสิทธิประกันสุขภาพ เอกสารต้องมีอะไรบ้าง
Ceuisemate :
- บัตรประจำตัวประชาชน (ถ้าเป็นเด็กที่ยังไม่มีบัตรประชาชน ให้ใช้สูติบัตรแทน)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- แบบคำร้องขอลงทะเบียน (รับได้ที่จุดลงทะเบียน)
ลงทะเบียนได้ที่ไหน
สมหญิง : เตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว ต้องไปลงทะเบียนสิทธิประกันสุขภาพที่ไหน
Cruisemate : อยู่กรุงเทพ หรือต่างจังหวัดครับ
สมหญิง : กรุงเทพ
Cruisemate : ถ้าอยู่กรุงเทพให้ติดต่อที่สำนักงานเขตที่กำหนด หรือรพ.ในเขตที่รับผิดชอบ
ส่วนต่างจังหวัดให้ติดต่อสถานพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ของจังหวัด สถานีอนามัย รพ.ของรัฐ
**กรณีที่เด็กอายุไม่เกิน 5 ปี พ่อแม่สามารถลงทะเบียนแทนได้**
ใช้สิทธิได้ที่ไหนบ้าง
สมหญิง : แล้วสามารถไปใช้สิทธิประกันสุขภาพที่ไหนได้บ้าง
Cruisemate : ใช้ได้เฉพาะโรงพยาบาลที่เราเลือกไว้ แต่สามารถขอเปลี่ยนได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี และเริ่มใช้สิทธิของที่ใหม่ได้หลังจาแจ้งเปลี่ยน 1 เดือน
**ยกเว้นกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือเกิดอุบัติเหตุ เราสามารถใช้สิทธิที่สถาพยาบาล อนามัยไหนก่อนก็ได้ แต่ต้องฉุกเฉินจริงๆนะครับ
ประกันสุขภาพมีสิทธิรักษาอะไรได้บ้าง
สมหญิง : สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพอะไรบ้าง
Cruisemate :
จ่ายค่าบริการ ค่ายา (ตั้งแต่การตรวจโรค วินิจฉัย การรักษา การป้องกันโรค คลอดบุตร ทำฟัน ค่ายา ค่าห้อง ค่าบริการส่งต่อ ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ เด็กแรกเกิดจนถึง 60 ปีขึ้นไป )
อาการเจ็บป่วยทั่วไป ที่ไม่ใช่เจ็บป่วยฉุกเฉินใช้สิทธิประกันสุขภาพที่รพ.อะไรก่อนก็ได้
เจ็บป่วยฉุกเฉิน ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือป่วยฉุกเฉิน กะทันหัน อาการเข้าข่ายภาวะฉุกเฉินคือ หมดสติ ไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หายใจเร็ว หอบ เหนื่อยรุนแรง เหงื่อแตก ตัวเย็น เจ็บหน้าอกฉับพลัน รุนแรง แขนขาอ่อนแรงครึ่งซีก พูดไม่ชัด อาการชัก
อุบัติเหตุทั่วไป และ อุบัติเหตุจากรถ ซึ่งอุบัติเหตุทั่วไป สามารถใช้สิทธิประกันสุขภาพเข้ารับการรักษาที่ใดก็ได้ที่อยู่ใกล้ที่สุด โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง แต่ในกรณีที่เป็นอุบัติเหตุจากรถ
มีสิทธิในกรณีส่งต่อเพื่อรักษาต่อเนื่อง หากสถานพยาบาลที่รักษาตัวอยู่ เกินความสามารถของสถานพยาบาลนั้น จะถูกส่งต่อไปยังที่สถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า
บริการฝากครรภ์ (ตรวจร่างกาย ประเมินสุขภาพ ดูแลรักษา ฉีดวัคซีน ให้คำแนะนำเบื้องต้น)
ดูแลสุขภาพเด็กเล็ก ช่วงอายุ 0-5 ปี (ตรวจร่างกาย ฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค ไวรัสตับอักเสบบี คอตีบ บาดทะยัก หัดเยอรมัน คางทูม ไข้หวัดใหญ่ วิตามิน ประเมินตรวจคัดกรองพัฒนาการของเด็ก ตรวจสายตา สุขภาพช่องปาก )
ดูแลสุขภาพเด็กโตและวัยรุ่น ช่วงอายุ 6-25ปี (ตรวจสุขภาพ ป้องกันโรคทั่วไป ฉีดวัคซีน ตรวจหาความผิดปติทางสายตา การได้ยิน ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการคัดกรองการติดเชื้อ HIV การตั้งครรภ์ที่ยังไม่พร้อม)
ผู้ใหญ่ ช่วงอายุ 25-58 ปี (ตรวจสุขภาพเบื้องต้น ฉีดวัคซีน คัดกรองความเสี่ยงของการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงสารเสพติด คัดกรองเบาหวาน โรคหัวใจ มะเร็งปากมดลูก
กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป บริการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคทั่วไป ฉีดวัคซีน ตรวจคัดกรอง ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกาย)
เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับสิทธิรักษาพยาบาลให้มากขึ้น ลองชมคลิปนี้ได้เลยครับ
ต้องมีค่าใช้จ่ายมั้ย
สมหญิง : ถ้าใช้สิทธิประกันสุขภาพ แล้วต้องมีค่าใช้จ่ายอะไรอีกมั้ย
Cruisemate : ไม่มีค่าใช้จ่ายครับ ขึ้นอยู่กับอาการเจ็บป่วย หากไม่ได้เจ็บป่วยร้ายแรงหรือไม่ได้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล ไม่เกิน 72 ชั่วโมง
“แต่ต้องมาในเวลาทำการเท่านั้นนะครับ”
สมหญิง : ถ้าไม่สะดวกมาหาหมอในช่วงเวลาทำการ ต้องมีค่าใช้จ่ายมั้ย
Cruisemate : มีค่าใช้จ่ายครับ แม้ว่าจะเป็นกรณีเจ็บป่วยทั่วไปอาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม
“ยกเว้นกรณีฉุกเฉินเท่านั้นที่มารักษาช่วงนอกเวลาทำการได้ และไม่มีค่าใช้จ่าย”
สิทธิประกันสุขภาพสำหรับคนท้อง
สมหญิง : สิทธิของคนท้องมีอะไรบ้าง
Cruisemate : มีสิทธิได้รับบริการฟรี ดังนี้ครับ
- ฝากครรภ์
- ตรวจ โลหิตจางธาลัสซีเมีย ทั้งหญิงตั้งครรภ์และสามี
- ตรวจคัดรอง ดาวน์ซินโดรม เฉพาะหญิงตั้งครรภ์ อายุ 35 ปีขึ้นไป
- ตรวจคัดกรอง ฮอร์โมนไทรอยด์ ในเด็กแรกเกิด
- ป้องกันและยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัย
- คุมกำเนิดในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี (การใส่ห่วงอนามัย หรือฝังยาคุมกำเนิด)
- คุมกำเนิดในหญิงอายุมากกว่า 20 ปี (การใส่ห่วงอนามัย หรือฝังยาคุมกำเนิด) เฉพาะในกรณีหลังยุติการตั้งครรภ์
- ตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก
- ใช้สิทธิทำคลอดได้ไม่เกิน 2 ครั้ง (นับเฉพาะกรณีคลอดบุตรออกมาแล้วมีชีวิต)
บริการกับสิทธิที่ไม่คุ้มครอง
สมหญิง : ข้อห้าม ข้อจำกัดในการรักษามีอะไรบ้าง
Cruisemate : มีครับ สิทธิประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองในกรณีดังนี้ครับ
- การผสมเทียมเพื่อมีบุตร
- ผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเพศ
- ศัลยกรรม เสริมความงาม รวมถึงการจัดฟัน
- การบำบัดรักษา ฟื้นฟูผู้ที่ติดสารเสพติด
- การผ่าตัด ปลูกถ่ายอวัยวะ (ยกเว้น ตับ ไต หัวใจหรือตามวินิจฉัยของแพทย์)
- โรคจิต ในกรณีที่ต้องรักษาเป็นผู้ป่วยในเกิน 15 วัน
- การรักษาโรคที่ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาตัวที่โรงพยาบาลเกิน 180 วัน (ยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็นต้องรักษาตัวเนื่องจากภาวะแทรกซ้อน)
- การรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้าย ที่ต้องรักษาด้วยการล้างไต ฟอกไต
- ยาต้านไวรัส HIV (ยกเว้นการป้องกันแพร่กระจายจากแม่ที่ตั้งครรภ์ไปสู่ลูก)
ย้ายโรงพยาบาลยังไง
สมหญิง : ถ้าอยากย้ายสิทธิประกันสุขภาพ ไปรพ.อื่นได้หรือไม่
Cruisemate : สามารถทำได้ครับ แต่ทำได้ไม่เกิน 4 ครั้งต่อปี โดยเตรียมเอกสารเหมือนกับที่ใช้ลงทะเบียนบัตรทอง ตอนแรกเลยครับ
ใช้สิทธิรักษาได้ยังไง
Cruisemate : หากลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว เพียงแค่ยื่นบัตรประชาชนก็สามารถใช้สิทธิได้แล้วครับ (ไม่จำเป็นต้องใช้บัตร 30 บาท เพราะจะมีข้อมูลอยู่ในระบบอยู่แล้วครับ)
สรุปสิทธิประโยชน์ของสิทธิประกันสุขภาพ
เห็นมั้ยครับว่า บัตร 30 บาท หรือ บัตรทอง ที่เรามีกันอยู่แล้ว เป็นสวัสดิการที่รัฐให้มา ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม อาจจะมีข้อจำกัดในการใช้สิทธิ์ ดังนั้นควรเช็คสิทธิประกันสุขภาพก่อนว่ามีชื่อตนเองอยู่ในระบบหรือไม่ พร้อมตรวจสอบสถานรักษาพยาบาลที่ไหน ที่สำคัญควรพกบัตรประชาชนติดตัวไว้ตลอด เผื่อในกรณีฉุกเฉินจะได้เข้ารับการรักษาได้ทันที
รายละเอียดเพิ่มเติม : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ