โรคข้อเข่าเสื่อม

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นได้กันทุกวัย หาสาเหตุและรีบรักษาเพื่อหยุดความทรมาน

        หลายคนคิดว่าอาการ ของโรคข้อเข่าเสื่อมเกิดได้เฉพาะกับผู้สูงอายุ เนื่องจากใช้งานหนักมานานกล้ามเนื้อตรงส่วนนั้นค่อยเสื่อมสภาพลง แต่รู้ไหมว่าคนที่ชอบนั่งท่าเดิมนานๆทำเลือดไม่ไปเลี้ยงที่เข่าก็เป็นอีกสาเหตุ หนึ่งที่ทำให้ปวดเข่า

เกิดจาก ข้อเข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดประกอบด้วย2ข้อต่อที่มีเส้นเอ็นยึดติดกันเพื่อควบคุมร่างกายและรับแรงกระแทกจากการเคลื่อนไหวโดยตรง แนวทางการรักษา ให้หายจากโรคนี้ไม่มีทางรักษาให้หายขาดแต่มีวิธีช่วยบรรเทาการเจ็บปวดลดลงเท่านั้น

สารบัญเนื้อหา

อาการโรคข้อเข่าเสื่อมเกิดจากอะไร

แนวทางการรักษา

โรคข้อเข่าเสื่อมกับอาหาร

สรุป

อาการโรคข้อเข่าเสื่อม

     แน่นอนว่าทุกคนต้องมีความรู้สึกปวดบวมบริเวณข้อเข่า อาการ ของโรคข้อเข่าเสื่อมจะคล้ายกับโรครูมาตอยด์ที่เกิดจาก ข้อต่ออักเสบเหมือนกัน เมื่อเป็นระยะแรกความรุนแรงจะไม่มาก รู้สึกปวดแปปๆ เป็นๆหายๆ หากปล่อยไว้นานจะรู้สึกปวดตลอดเวลาหรือมีอย่างอื่นร่วมด้วย

  • ได้ยินเสียงเข่าดังลั่น
  • ปวดบวมที่ข้อเข่า
  • งอ-ยืดเข่าได้ไม่สุด
  • กระดูกข้อเข่าโก่ง
  1. เมื่อขยับร่างกายที่ไม่ได้เคลื่อนไหวมานานในช่วงที่นอนหลับหรือนั่งนานแล้วไม่ได้เปลี่ยนท่านั่ง จะเกิดเสียงดังลั่นจากข้อเข่า สาเหตุ มาจากเศษกระดูกที่สึกหรอหรือเสียดสีกับกระดูก ทำให้รู้สึกข้อเข่าฝืด
  2. เมื่อมีการใช้งานเช่น นั่งคุกเข่า นั่งยองๆ เดินขึ้นลงบันไดจะรู้สึกปวด บวมที่ข้อจะปวดมากขึ้น แต่จะทุเลาลงเมื่อหยุดพัก
  3. ไม่สามารถงอหรือเหยียดเข่าได้สุดเนื่องจากเกิดข้อเข่ายึดติด
  4. กระดูกชิดติดกันหรือมีกระดูกงอกมาใหม่ หากไปคลำมันจะรู้สึกเจ็บและทำให้ข้อเข่าโก่งด้านนอกหรือรูปร่างด้านในรูปร่างกระดูกเปลี่ยนแปลงโค้งงอไม่สวย

หากใครมีความรู้สึกเหมือนที่กล่าวมาข้างต้นอาจเกิดจาก โรคข้อเข่าเสื่อมให้รีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาแนวทางการรักษา หากปล่อยให้เป็นติดต่อกันมานานไม่ได้รับการรักษาทำให้รู้สึกเจ็บปวดรุนแรงมากขึ้น

กลับสู่สารบัญ

แนวทางการรักษา

        ส่วนใหญ่สาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคต่างเกิดจาก พฤติกรรมของเราเองทั้งหมด โดยที่แนวทางการรักษา ของโรคข้อเข่าเสื่อมไม่ได้หายขาดโดยทันที แต่จะมุ่งเน้นไปที่ช่วยลดความเจ็บปวด ลดความรุนแรงและให้เคลื่อนไหวได้ปกติ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

1.ควบคุมอาหาร และน้ำหนัก โดยใช้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นตัวช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกายไม่ให้น้ำหนักเกิน เพราะเข่าจะต้องแบกรับน้ำหนักทั้งร่างกาย

2.หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ต้องใช้แรงกระแทกกับข้อต่อโดยตรง เช่น วิ่ง เล่นเวท แนะนำให้ว่ายน้ำ เดินในน้ำ เดินเร็วหรือปั่นจักรยาน บริหารข้อเข่าจะช่วยให้แข็งแรงความยืดหยุ่น โดยที่ข้อต่อไม่ต้องรับแรงกระแทกโดยตรงมาก ถึงแม้ว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องที่ดี แต่ถ้าหักโหมเกินไปอาจทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก หรือกระดูกเสื่อมได้ เหมือนนักกีฬามืออาชีพหลายคน

3.ปรับเปลี่ยนท่าทาง ช่วยลดโอกาสให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมเช่นกัน ที่ทำให้กระดูกผิดรูปหรือการกระทำที่ส่งผลให้แรงกระแทกของข้อต่อโดยตรง เช่น นั่งยองๆ ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ การยืนทิ้งน้ำหนักข้างเดียว ควรหาโอกาสขยับตัว ลุกขึ้นเดินไปมารอบๆบ้างเพื่อยืดแขนยืดขาบริหารข้อต่อ

ใช้กายภาพบำบัด

ต้องฝึกกับนักกายภาพบำบัดเฉพาะทางสำหรับโรคข้อเข่าเสื่อมที่รู้วิธีการทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อเข่ามีความแข็งแรงและยืดหยุ่น ช่วยบรรเทาความเจ็บปวดน้อยลงและเคลื่อนไหวได้มากกว่าเดิม

รักษาโดยไม่ใช้ยา

  1. ประคบร้อน ประคบเย็นเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด ความร้อนจะช่วยบรรเทาข้อฝืด ความเย็นจะช่วยลดการหดเกร็งและความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ
  2. ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงเดิน จะช่วยลดแรงกดรองรับน้ำหนักที่ข้อเข่า แพทย์แนะนำอุปกรณ์เหล่านี้เพื่อให้เดินสะดวกยิ่งขึ้น
  3. ที่รัดข่า แพทย์หรือนักกายภาพบำบัดจะแนะนำว่าควรพันตำแหน่งไหนถึงจะเหมาะสมที่สุด

รักษาโดยการใช้ยา

ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโรคข้อเข่าเสื่อมเท่านั้น ต้องระมัดระวังและควบคุมเป็นพิเศษ รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ควรซื้อยาตามร้านขายยามาทานเอง เพราะยาบางชนิดถ้าใช้ปริมาณมาอาจมีอันตรายหรือผลข้างเคียงที่รุนแรง

รักษาโดยการผ่าตัด

เป็นทางเลือดสุดท้ายสำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีความรุนแรงมาก ถึงแม้จะทำตามทุกคำแนะนำแล้วยังไม่หาย ต้องปรึกษาแพทย์เพื่อผ่าตัดจะมีหลายวิธี ขึ้นอยู่แต่ละบุคคลจะเหมาะกับวิธีไหน แต่การผ่าตัดอาจมีภาวะแทรกซ้อนสำหรับบางคน

กลับสู่สารบัญ

โรคข้อเข่าเสื่อมกับอาหาร

    นอกเหนือจากวิธีบรรเทาความเจ็บปวดเบื้องต้นที่นำเสนอไป การเลือกรับประทานอาหารเป็นส่วนหนึ่งเพื่อบำรุงร่างกายและบรรเทาความเจ็บปวดต่างๆจากโรคข้อเข่าเสื่อม อีกทั้งยังช่วยควบคุมน้ำหนัก จึงควรปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมและหลีกเลี่ยงกลุ่มเสี่ยงที่ทำให้ทรุดหนัก

ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมควรรับประทาน

ส่วนใหญ่ที่รับประทานควรเป็นประเภทต้ม ตุ๋น นึ่ง นาง เพื่อควบคุมน้ำหนักตัว โดยเฉพาะประเภทที่มีไขมันโอเมก้า3ที่ได้จากปลาแซลม่อน ปลาซาดีน ปลาทูน่า ปลาทู ปลาดุก

หรือแม้แต่ปลาน้ำจืดประเภทปลาเนื้อขาวเป็นต้น ประเภทที่มีแคลเซียมสูง เช่นปลาตัวเล็กๆ อัลมอนด์ งาดำ รวมถึงผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเหลือง เช่นน้ำเต้าหู้ เต้าหู้ทอด เป็นต้น

ผักใบเขียวต่างๆและผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง ส้ม สับปะรด มะละกอสุก  รวมถึงการรับแสงแดดอ่อนๆได้วิตามินเคเช่นกัน แต่ไม่ควรอยู่กลางแจ้งหรือแดดจัดเป็นเวลานาน

ถ้าปรับเปลี่ยนการทานได้จะช่วยบำรุงเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกข้อต่อ บรรเทาการปวด ข้ออักเสบ ขอติดต่างๆ ผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ก็ทานได้เช่นกัน

กลับสู่สารบัญ

อาหารโรคข้อเข่าเสื่อม

ภาพจาก honestdocs.co

ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมห้ามรับประทาน

สำหรับผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ห้ามรับประทานอาหาร โดยเฉพาะประเภททอด ที่มีไขมัน รสเค็มจัด หวานจัด หลีกเลี่ยงการปรุงด้วยเกลือ น้ำปลา ซีอิ๋ว น้ำตาล หมัก ดอง แปรรูปต่างๆรวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน เพราะจะส่งผลให้มีอาการ กำเริบขึ้นได้

กลับสู่สารบัญ

สรุปวิธีการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

     ในปัจจุบันคนส่วนใหญ่เริ่มหันมาออกกำลังกายมากขึ้นซึ่งเป็นผลดีที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง แต่โดยเฉพาะกีฬาที่ใช้การกระโดดหรือวิ่งเป็นเวลานานทำให้รู้สึกปวดข้อ เป็นสาเหตุ ส่วนหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ทั้งนี้เมื่อรู้สึกปวดให้รีบรักษาทันทีเพื่อช่วยบรรเทาการเจ็บปวดลดลง หากปล่อยไว้นานเกินไปวิธีรักษาที่ปรับจากพฤติกรรมตนเองอาจช่วยไม่ได้ ถ้าร้ายแรงเกินไปอาจถึงขั้นเข้ารับการผ่าตัดอย่างเดียว

กลับสู่สารบัญ