ความดันโลหิต

ความดันโลหิต เรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

ในปัจจุบัน เรื่องโรคความดันโลหิต เป็นที่ฮิตในหมู่คนไทยเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ หรือ คนในวัยทำงานทั่วไป ดังนั้น เราควรศึกษา ไม่ว่า จะเป็นเรื่องของ สาเหตุ อาการ การป้องกัน การเกิดโรคความดันโลหิตสูง เพื่อให้ทุกท่านที่อ่านบทความนี้ จะสามารถที่จะป้องกัน การเกิดโรคนี้ได้ ซึ่งถือเป็นโรคที่เป็น เพชรฆาตเงียบ Silence Killer ที่คร่าชีวิตของผู้ป่วยโรคนี้หลายรายอย่างนับไม่ถ้วน วันนี้ มาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันดีกว่าครับ

สารบัญเนื้อหา

โรคความดันโลหิต คืออะไร

มีอะไรบ้าง

วิธีการตรวจวัดความดันโลหิต

ข้อควรปฎิบัติเมื่อมีการวัดความดันโลหิต

การออกกำลังกาย

สรุป

โรคความดันโลหิตคืออะไร?

โรคความดันโลหิต คือแรงความดันภายในหลอดเลือดแดงที่กระทบต่อผนังหลอดเลือดแดง ที่เกิดขึ้นจากการที่ภาวะหัวใจบีบตัวและคลายตัว ที่ประกอบด้วย

ความดันตัวบน(เกิดจาก ขณะหัวใจบีบตัว) Systolic pressure

และตัวล่าง(เกิดจาก ขณะหัวใจคลายตัว) Diastolic pressure

ค่าความดันโลหิตปกติ มีค่าเท่าไหร่

ซึ่งโดยปกติแล้ว ค่าความดันปกติของร่างกายเรา มีค่าตัวบนอยู่ที่120 และค่าตัวล่างอยู่ที่ 80 ซึ่งถือว่าเป็นปกติ และที่สำคัญ ค่าความดันโลหิตก็จะมีค่าที่แตกต่างกันที่ค่าที่อ่านออกมาเมื่อมีการวัดของแต่ละบุคคลจะไม่เท่ากัน ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติครับ

ไม่เท่ากัน….ไม่ต้องตกใจนะครับ

เพราะค่าที่วัดได้ อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามเพศ อายุ เชื้อชาติเจ็บป่วย ความเครียด น้ำหนักตัว อารมณ์ในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน เช่น โกรธ ตกใจ ตื่นเต้น เป็นต้นครับ

หากเราวัดความดันจากคนเดียวกัน ในเวลาที่ต่างกัน เช่น วัดขณะที่ตื่นนอนใหม่ๆ และ วัดหลังจากที่มีการออกกำลังกายเสร็จใหม่ๆ ค่าทั้งสองตัว ไม่เท่ากันครับ ถือเป็นเรื่องปกติ

เพราะ ค่าที่เกิดแรงกระแทกผนังหลอดเลือด ต่างกันไปตามกิจกรรมที่เราทำอยู่ครับ

ความดันโลหิตของคนคนเดียวกัน อาจแตกต่างกันอย่างมากได้ ซึ่งไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติ หากกการวัดแต่ละครั้งนั้น เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรมที่แตกต่างกัน ดังนั้น การวัด ควรวัดในสภาะที่ร่างกายไม่เหนื่อย

กลับสู่สารบัญ

โรคที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตมีอะไรบ้าง?

อย่างที่บอกไปข้างต้นนะครับ ว่าความดันปกติจะอยู่ที่ ความดันตัวบนไม่เกิน 120 ความดันตัวล่าง ไม่เกิน 80

แล้วถ้าค่าที่วัดได้ แตกต่างไปจากนี้ล่ะ

ก็เป็นความดันผิดปกติไงครับ ซึ่งจะแบ่งได้เป็น 2 กรณี ครับ

1.โรคความดันโลหิตสูง

2.โรคความดันโลหิตต่ำ

กลับสู่สารบัญ

  • ค่าความดันโลหิตสูง ตัวเลขช่วงบนมีค่า ≤140 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขช่วงล่าง ≤90 มิลลิเมตรปรอท
  • ค่าความดันโลหิตต่ำ ตัวเลขช่วงบนมีค่า ≥90 มิลลิเมตรปรอท ตัวเลขช่วงล่างมีค่า ≥60 มิลลิเมตรปรอท

โรคความดันโลหิตสูง

คนไทยส่วนใหญ่วัยผู้สูงอายุมักจะเป็นโรคนี้กันมาก เนื่องจากวัฒธรรมการใช้ชีวิตตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น พร้อมการเสื่อมสภาพของผนังหลอดเลือดที่ทำให้หัวใจมีการบีบเลือดที่แรงขึ้นเพื่อส่งให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย ทำให้ความดันภายในเลือดสูงขึ้นนั่นเอง

จะรู้ได้อย่างไรละ เมื่อเป็น?

อยากทราบผลที่แน่นอนก็ต้องวัดครับ

สังเกตค่าความดันโลหิตสูง เมื่อวัดความดันแล้วพบว่าตัวเลขช่วงบนมีค่า ≤140 มิลลิเมตรปรอท และตัวเลขช่วงล่าง ≤90 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งระดับค่าความดันเลือดนั้นต้องสูงเกินปกติตลอดเวลาไม่ใช่เพียงชั่วคราว หมายความว่า ไม่ใช่ออกกำลังกายเสร็จแล้ว มาวัด อย่างนี้ไม่ใช่นะครับ

แต่ต้องเป็นการวัดที่วัดแล้ววัดอีก ในสภาวะร่างกายปกติ ไม่เหนื่อย และวัดออกมาแล้วได้ค่าตามที่แจ้งไปข้างต้นครับ

โดยส่วนใหญ่ แพทย์จะตรวจไม่พบความผิดปกติ หรือเกิดจากสาเหตุ อื่นอีกประมาณ 5-10%  พบความผิดปกติและทราบสาเหตุ มีหลายอาจเกิดได้จาก โรคไต หลอดเลือดแดงไตตีบ หลอดเลือดแดงใหญ่ตีบ เนื้องอกบางชนิดของต่อมหมวกไต หรือต่อมใต้สมอง

และเมื่อเป็นโรคโลหิตสูง ก็ต้องรักษา ตลอดไป แม้จะไม่มีอาการ อะไรก็ตาม เพราะอาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ตลอดเวลา ระมัดระวังดูแลสุขภาพทั้งเรื่องอาหารการกิน และการดำเนินการใช้ชีวิตด้วยนะครับ

กลับสู่สารบัญ

เกิดจากอะไร?

โรคความดันโลหิตสูงไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงในวัยผู้สูงอายุ แต่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศ ทุกวัย

อาหารการกินนี่เป็นเรื่องสำคัญเลยครับ กินเค็มมากๆ อาหารพลังงานสูง ไขมันสูง ดื่มเหล้า ดื่มเบียร์ เป็นกันมามากครับ

พฤติกรรมการใช้ชีวิต ก็เช่นกัน สูบบุหรี่ พักผ่อนน้อย ขาดการออกกำลังกาย ความอ้วน ภาวะเครียดต่างๆ เป็นต้น เป็นสาเหตุของความโรคความดันโลหิตสูงได้เช่นกัน

และที่สำคัญ เมื่อเป็นแล้ว ไม่หายนะครับ

เป็นแล้ว เป็นเลยครับ

ที่เหลือคือต้องควบคุมไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนกับร่างกาย

ซึ่งโรคนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร อันดับต้นๆเลยครับ ดังนั้น อยากให้ทุกคนใส่ใจ ในการใช้ชีวิตให้มากยิ่งขึ้นนะครับ

กลับสู่สารบัญ

มีอาการอย่างไร

โดยปกติแล้ว หากเป็นแต่ไม่รุนแรงมาก ก็จะสังเกตเห็นได้ยาก แต่ถ้าบางรายที่แสดงอาการ ออกมารุนแรง จะมีเช่น ปวดหัว หายใจสั้น เลือดกำดำไหล ซึ่งถือว่า อันตรายมาก และถือว่า เป็น ฆาตรกรที่ไม่พูดมาก หรือ ฆาตรกรเงียบ คร่าชีวิตแบบไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า

 

โรคความดันโลหิตสูง อาการ

ภาพประกอบจาก https://www.medindia.net/patientinfo/high-blood-pressure.htm

กลับสู่สารบัญ

โรคความดันโลหิตต่ำ

ความดันในหลอดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ โดยที่ตัวเลขช่วงบนมีค่า ≥90 มิลลิเมตรปรอท ตัวเลขช่วงล่างมีค่า ≥60 มิลลิเมตรปรอท

อย่างนี้เรียกว่า ความดันต่ำครับ

กลับสู่สารบัญ

มีอาการอย่างไร

สำหรับบางท่านที่เป็นโรคความดันโลหิตต่ำ แต่ไม่พบความผิดปกติใด ๆ ยังจัดว่ามีสุขภาพเป็นปกติดีและไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่ต้องคอยดูแลตัวเองตลอดเวลาด้วยนะครับ

เพราะส่วนใหญ่มักทำให้รู้สึกป่วย เช่น เวียนศีรษะ หน้ามืด หูอื้อ ตาลาย มองเห็นไม่ชัด คลื่นไส้ สับสน ใจสั่น ผิวซีด ผิวหนังเย็นหรือชื้นผิดปกติ เสียการทรงตัว ร่างกายอ่อนแอ ชีพจรเต้นเร็ว เป็นลม ขี้ลืม ไม่สมาธิ หรืออาจเกิดการช็อกได้หาก

อาการ ดังกล่าวข้างต้นอาจเป็นส่วนหนึ่งของโรคความดันโลหิตต่ำ ดังนั้นควรสังเกตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง หมั่นไปพบแพทย์จะได้รีบรับการรักษา และป้องกัน ได้อย่างรวดเร็วและหาวิธีดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสมนะครับ

ที่ที่สำคัญ การออกกำลังกาย สามารถช่วยได้ครับ ทำให้ร่างกายกลับมาสู้สภาวะที่สมดุล และจะมีความสุขในการใช้ชีวิตครับ

กลับสู่สารบัญ

วิธีวัดค่าให้ถูกต้องและชัดเจน

  1. เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดั้งเดิม เครื่องมือชนิดนี้จะมีผ้าพันที่ต้นแขน ซึ่งจะพองตัวเมื่อทำการบีบรัดแขน โดยต้องมีผู้ที่คอยบีบตัวบีบ และจะมีสเกลปรอท คล้ายๆ กับปรอทวัดไข้ แพทย์จะใช้หูฟังวางไว้บนหลอดเลือดแดงแล้วฟังเสียงอัตราหัวใจเต้น
เครื่องวัดโลหิตแบบเดิม

เครื่องวัดแบบดั้งเดิม-ใช้มือบีบ

2. เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ ำหรับปัจจุบันเครื่องวัดชนิดนี้จะนิยมเป็นอย่างมาก เพราะให้ความแม่นยำสูงและความคลาดเคลื่อนของตัวเลขมีน้อยมาก โดยที่ไม่ต้องมีผู้ที่คอยบีบตัวบีบให้รัด เครื่องนี้จะรัดแขนเองโดยอัตโนมัติ เมื่อถูกบีบรัดจนแน่น เครื่องจะคลายสายพันออกมาเองอย่างช้าๆ แล้วอ่านค่าตัวเลขดิจิตอลได้เลยครับ

เครื่องวัดแบบออโต้

เครื่องวัดแบบอัตโนมัติ-พัฒนาให้ใช้งานง่าย

**ท่านสามารถวัดความดันโลหิตได้เองจากที่บ้าน แนะนำว่า “วัดแล้วจดบันทึก” เพื่อสอบปรึกษาแพทย์ได้ถูกต้องครับ**


การวัดเพื่อให้แม่นยำกว่าเดิม หากพบตัวเลขผิดปกติให้วัดซ้ำอีกใน1นาทีต่อมา และหากวัดครั้งที่2แล้วค่าออกมาห่างกันมากกว่า 5มิลลิเมตรปรอท ให้วัดครั้งที่3แล้วหาค่าเฉลี่ยเพื่อความแม่นยำถูกต้องนะครับ

หากสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง/ต่ำ

วิธีที่ควรทำคือ ควรวัดซ้ำอีกสัปดาห์ละ1ครั้ง เป็นเวลา 2-3สัปดาห์ ติดต่อกัน เพื่อเป็นการยืนยัน คอนเฟริมว่า เป็นหรือไม่

และอย่างที่บอกครับ สำหรับท่านที่ไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิต อย่าเพิ่งชะล่าใจไป ควรค่าวัดความดันอาจะสูงเป็นครั้งคราว อาจเกิดจาก ความเครียด ออกกำลังกายมาใหม่ๆ เพิ่งสูบบุหรี่ ดื่มกาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่เมื่อปฏิบัติตัวตามหัวข้อถัดไป จะได้ค่าความดันที่ถูกต้องและแม่นยำมากกว่าเดิมครับ

กลับสู่สารบัญ

ข้อปฏิบัติและข้อควรระวังในการวัดค่าความดันโลหิต

  • ก่อนวัด แนะนำให้นั่งพักก่อนครับ เอาอย่างน้อย 5-15 นาที เพื่อให้ร่างกายสู่โหมดปกติครับ
  • ปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อน เพราะการอั้นฉี่มีผลนะครับ อาจจะมีการวัดที่เพี้ยนออกไป
  • อย่าเพิ่งสูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มต่างๆที่คาเฟอีน เนื่องจากพวกนี้ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานไม่ปกติครับ ถ้าดื่ม ควรนั่งพักอย่างน้อย 30 นาทีก่อนการวัดความดันโลหิต
  • ถ้าออกกำลังกายเสร็จใหม่ๆ หรือเพิ่งเครียดจากวันต่างๆ นั่งพักให้หายก่อนนะครับ เพราะอาจจะทำให้ค่าที่วัดออกมาผิดปกติได้
  • ระหว่างที่วัดความดันโลหิตให้นั่งสบายๆ วางเท้าทั้งสองข้างราบกับพื้น ไม่ต้องเกร็ง ไม่ต้องกำมือหรือนั่งไขว้ห้าง

กลับสู่สารบัญ

ออกกำลังกาย

วิธีการออกกำลังกายง่ายๆ สำหรับผู้สูงอายุ

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิต สามารถออกกำลังกายได้เช่นกัน

สรุปวิธีวัดค่าความดันและการรักษาโรคความดันโลหิต

ณ ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกได้ระบุออกมาว่า โรคความดันโลหิตสูงจะมีแนวโน้มผู้ป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคนี้มากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสาเหตุในการเสียชีวิตและเกิดโรคแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตก่อนวันอันควรได้

ที่สำคัญ เลือกกิน เลือกดื่ม ไม่ทานของมัน ไม่ดื่มเหล้า และหมั่นออกกำลังกาย ป้องกัน จะดีที่สุดนะครับ เพื่อให้เราห่างไกลจากโรคาทั้งหลายครับ

กลับสู่สารบัญ

ประชาสัมพันธ์ หากท่านต้องการผู้ช่วยที่ดีด้านการเดินทาง ทางบริษัทมีสินค้า รถเข็นไฟฟ้า หลากหลายรุ่นให้ท่านเลือก สามารถเลือกชมสินค้าได้ที่ https://www.cruisemate-thailand.com/