หลายคนคงเคยมีปัญหาหรือรู้สึกมือสั่น โดยเฉพาะในขณะที่อยู่ในสถานการณ์ประหม่า ตึงเครียด ตื่นเต้น จะทำให้เกิดการสั่นโดยที่ไม่รู้ตัว จึงเกิดความกังวลว่า นี่อาจจะเป็นสัญญาณของโรคบ้างอย่างหรือเปล่า? วันนี้ Cruisemate จึงมาอธิบายและสรุปความเข้าใจง่ายๆ
สารบัญเนื้อหา
มือสั่นเกิดจากอะไร
มือสั่นไม่ทราบสาเหตุ Essential Tremor (ET) มักเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในเหตุการณ์ที่น่ากลัว ตกใจ เครียด กังวล ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ติดเหล้า อาจจะมีสาเหตุมาจากไทรอยด์เป็นพิษหรือทำงานมากกว่าปกติ จนเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอส่งผลให้ระบบประสาทและสมองทำงานผิดปกติหรือมีปัญหา รวมถึงโรคหอบหืด ถุงลมโป่งพอง และโรคเกี่ยวกับประสาทอื่นๆ
มือสั่นใช่พาร์กินสันหรือเปล่า
ต้องแยกก่อนนะครับว่า โรคมือสั่นกับโรคพาร์กินสัน 2 อย่างนั้น จะรู้สึกสั่นเหมือนกัน
ถ้าเป็นโรคมือสั่นไม่ทราบสาเหตุ (ET) มากจากความเครียด ตื่นเต้น หิวข้าว ติดเหล้า ดื่มกาแฟ จับปากกา เวลาเขียนหนังสือ เป็นต้นและเมื่อมีการขยับหรือเคลื่อนไหวมือจะสั่นทั้ง 2 ข้างหรือข้างเดียว สั่นแบบคงที่หรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ถ้าหยุดปุ๊บ มือจะหยุดสั่นทันที
ส่วนโรคพาร์กินสันมีอาการ มือจะสั่นในขณะที่อยู่เฉยๆ เริ่มจากข้างเดียวแล้วค่อยลุกลามไปทั้ง 2 ข้าง ตัวสั่น เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวไม่อยู่ กล้ามเนื้อเกร็ง พูดช้าลง จะหยุดนิ่งเมื่อมีการขยับหรือเคลื่อนไหว หากปล่อยไว้นานความรุนแรงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
**แต่มือสั่นก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคพาร์กินสันเหมือนกันนะครับ**
อาการ
สั่นโดยไม่ทราบสาเหตุหรือ ET มือทั้ง 2 ข้างจะสั่นและเห็นชัดขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว เมื่อใช้มือหยิบจับสิ่งของ ยกมือขึ้น หยิบของเข้าปาก จับปากกา ยิ่งถ้าเป็นมานานอวัยวะส่วนอื่นจะสั่นตามไปด้วย เช่น ศีรษะสั่น เสียงสั่น
บางครั้งถ้ามีความรู้สึกเหนื่อยง่าย เหงื่อออก หิวข้าว ทำจิตใจให้สงบแล้วมันจะหายไปเอง
ลักษณะของมือสั่นเป็นแบบไหน
แต่ละรูปแบบขึ้นอยู่กับอาการ ของแต่ละคน และยังสามารถบ่งบอกความผิดปกติในร่างกายแตกต่างกันไป มีอยู่ 4 ลักษณะดังนี้
- สั่นเมื่ออยู่เฉยๆ
- สั่นเมื่อมีการเคลื่อนไหว
- สื่นเมื่อยกขึ้น
- สั่นจากภาวะจิตใจ
แบบที่1 มือสั่นเมื่ออยู่เฉยๆ (Resting tremor)
เป็น1 ในลักษณะของผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสัน ซึ่งเกิดจาก ความผิดปกติของโดปามีนที่มีไม่เพียงพอต่อร่างกายทำให้ควบคุมการเคลื่อนไหวลำบาก เกิดขึ้นเมื่อมือวางเฉยๆหรืออยู่บนอะไรสักอย่าง เช่น วางอยู่บนโต๊ะ วางอยู่บนตัก เป็นต้น แต่ถ้ามีการเคลื่อนไหวหรือรู้สึกตัว อาการสั่นจะลดลงและหยุดหายไปเอง
แบบที่2 มือสั่นเมื่อมีการเคลื่อนไหว (Intention tremor)
เกิดขึ้นเมื่อตั้งใจขยับหรือเคลื่อนไหว เช่น หยิบสิ่งของ จับปากกา ตักข้าวเข้าปากไม่ได้ เวลาเขียนหนังสือเขียนได้ไม่ถนัด แตะจมูกของตนเองไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งเกิดจาก ความผิดปกติของสมองส่วนซีรีเบลรัม (สมองน้อย Cerebellum) หรือเลือดไปเลี้ยงก้านสมองไม่เพียงพอ
แบบที่3 มือสั่นเมื่อยกมือ-แขนขึ้น (Postural tremor)
มือจะสั่นเมื่อรู้สึกเครียด ตื่นเต้น ตกใจ หรือหิวข้าว เป็นต้นและจะสั่นเมื่อยกมือขึ้น จับปากกา เวลาเขียนหนังสือและรู้สึกสั่นลดลงเมื่อวางแขน-มือไว้เฉยๆ ถ้ามีสาเหตุจากไทรอยด์เป็นพิษจะมีลักษณะอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ใจสั่น ผอมลง อารมณ์แปรปรวน เหงื่อออก เป็นต้น ตั้งใจทำอะไรก็สั่น ไม่ตั้งใจก็สั่นได้เหมือนกัน น้ำตาลในเลือดต่ำ พิษสุรา ซึ่งเกิดจาก ผู้ป่วยที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษ
แบบที่4 มือสั่นจากสภาวะจิตใจ (physiologic tremor)
คล้ายกับภาวะจิตประเภทหนึ่งเจอได้คนทั่วไปปกติ มือสั่นเมื่อตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นที่มีภาวะกดดันเมื่อต้องตั้งใจทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดความกลัว และจะดีขึ้นเมื่อไม่ได้เจอสิ่งกระตุ้น
วิธีแก้อาการมือสั่น
- หากอยู่ในสถานการณ์ตื่นเต้น ตกใจ กลัว ใจสั่น ให้หายใจเข้า-ออกลึกๆ หรือหากมีเวลาว่างให้ฝึกทำสมาธิ โยคะหรือไปนวด เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น แล้วให้สังเกตว่ามือของคุณหยุดสั่นหลังจากได้ทำกิจกรรมผ่อนคลายหรือเปล่า
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ถ้าคนเป็นเบาหวานต้องควบคุมระดับน้ำตาลใช่มั้ยครับ แต่ถ้าเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปก็จะทำให้มือสั่นได้เหมือนกัน ให้กินหรือดื่มอะไรก็ได้ที่มีน้ำตาลผสมอยู่ แต่ต้องควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงหรือต่ำเกินไป นะครับ
- หลีกเลี่ยงหรือลดปริมาณเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ โคล่า ชา เครื่องดื่มชูกำลัง และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- งดสูบบุหรี่ เนื่องจากมีสารนิโคตินเป็นตัวกระตุ้นให้มือสั่น แต่ถ้าหากเพิ่งสูบใหม่ๆร่างกายจะยังปรับตัวไม่ได้ มือจะสั่นได้เช่นกัน
- ปรึกษาแพทย์ เพราะบางทีอาจจะเป็นผลข้างเคียงของตัวยาบางชนิด ที่รับประทานเข้าไป เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง ยาแก้ซึมเศร้า ยาพ่นหอบหืด ยาปฏิชีวนะ แพทย์จะช่วยเปลี่ยนตัวยาหรือลดปริมาณ **อย่าหยุดรับประทานยาเองโดยที่ยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์นะครับ**
- ให้เลือกหยิบจับสิ่งของที่มีน้ำหนักมากขึ้น เช่น แก้วน้ำ ช้อนส้อม จาน หรือใส่ที่ถ่วงน้ำหนักแบบรัดข้อมือ ถ้ามีน้ำหนักมากจะช่วยสะดวกในการจับถือมากขึ้น
ท่าบริหาร
- บีบมือให้แน่น ทำซ้ำข้างละอย่างน้อย 50 ครั้ง
- บีบทั้งสี่นิ้ว แล้วขยับนิ้วโป้งซ้าย-ขวาไปมา
- ยกแขนขึ้น-ลงทั้ง 2 ข้าง ถ้ายกแขนไม่ได้ให้ยกแค่มือขึ้น-ลงก็ได้
แนะนำให้ฝึกแบบนี้บ่อยๆ อย่างน้อย 3-4 วันและทำร่วมกับการวิธีแก้อาการ มือสั่นที่กล่าวไปข้างต้นนะครับ
สรุปสาเหตุที่ทำให้มือสั่น
บางครั้งมือสั่นอาจจะไม่ได้เป็นบ่งบอกหรือเป็นสัญญาณของโรคร้ายแรงก็ได้อย่าเพิ่งตกใจไปก่อน อาจจะเป็นเพราะว่าประหม่า หิวข้าว ตื่นเต้น เครียด ใจสั่น ติดเหล้ามาก หากเกิดขึ้นในสถานการณ์นั้นเราสามารถหลีกเลี่ยงแล้วจะช่วยให้มือของคุณหยุดสั่นได้บ้างหรืออาจจะเป็นผลข้างเคียงจากยาให้รีบปรึกษาแพทย์เพื่อความชัวร์นะครับ